การสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

หัวข้อวิจัย       การสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย             นายอำนวย  ศรีสวัสดิ์

สถานศึกษา      โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน)  เทศบาลนครหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

ปีการศึกษา      2560

                                                                                  บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  2) เพื่อหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน) เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนใช้ E1/E2 และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent samples)

           ผลการวิจัยพบว่า

           1) ได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบ่งออกเป็น 12 หน่วย มีผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด  

           2) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.33/81.22 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (80/80) 

           3) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

           4) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและ  การสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด