การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

หัวข้อวิจัย       การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ผู้วิจัย              นายอำนวย  ศรีสวัสดิ์

สถานศึกษา      โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน)  เทศบาลนครหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

ปีการศึกษา      2560

                                                                                         บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน) เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย   ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent samples) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

           ผลการวิจัยพบว่า

           1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี พบว่า จากผลการประเมินต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่านักเรียนยังมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ต่ำ การคิดวิเคราะห์มีความสำคัญต่อการเรียนและเป็นทักษะที่สำคัญในการพัฒนาการคิดในขั้นอื่น ๆ ต่อไป นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความต้องการให้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์

           2) ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ได้รูปแบบ  การเรียนการสอนที่มีชื่อว่า “EPSAS Model” (แอ็ปซาสโมเดล) มีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการเรียนการสอน และ (4) การวัดผลประเมินผล  มีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 เร้าความสนใจ (Engagement : E) ขั้นที่ 2 ประเด็นหรือปัญหา (Problem : P) ขั้นที่ 3 สืบค้นและเรียนรู้ (Search and Learn : S) ขั้นที่ 4 คิดวิเคราะห์(Analysis : A) และขั้นที่ 5 สรุป (Summarize : S) และผลการตรวจสอบประสิทธิภาพพบว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.51/81.17 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80  

           3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01       

           4) ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด