การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชื่อเรื่อง              การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ผู้วิจัย                นางเกศสรินทร์   เทพบุรี

ปีการศึกษา        2561

                                                                                      บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิดเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิดเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - Depth Interview) เกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครหาดใหญ่ จำนวน 12 คน  ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวแทนครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   และ กลุ่มที่ 2  คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน)  สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครหาดใหญ่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด เรื่อง ดวงจันทร์ของโลกและระบบสุริยะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติค่าที แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา

           

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ พบว่า ผู้เรียนขาดการคิดวิเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอดไม่ได้และครูผู้สอนต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอนโดยยึดหลักการแนวคิดทฤษฎีมาพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน ที่สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดรวบยอดของนักเรียนได้ 

2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ชื่อว่า  “ERDSA  Modal” โดยมีองค์ประกอบดังนี้  หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนการสอน  การวัดผลและการประเมินผล  ระบบสังคม และเงื่อนไขในการนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนไปใช้  รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการจัดการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน  1) ขั้นสร้างความสนใจ  (Engagement : E)  2) ขั้นศึกษาค้นคว้าและระดมพลังสมอง (Research  and  Brainstorming : R) 3) ขั้นร่วมอภิปรายผล (Discuse  the  results : D)  4) ขั้นสรุปความคิดรวบยอด (Summary of concepts : S)  และ 5) ขั้นประเมินผล (Assessing : A)  ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.71/82.90 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด มีค่าเฉลี่ยที่ 4.96 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด