การประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ชื่อโครงการวิจัย       การประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้วิจัย                    นางสาววิศัลย์ศยา พาพรหม

ตำแหน่ง                 รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา             โรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองวารินชำ ราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ปีการศึกษา              2559

บทคัดย่อ

     การประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ อำเภอวารินชำราบ  จังหวัดอุบลราชธานี ในครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินระดับคุณค่า ของการประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่านของนักเรียนด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต 2) ศึกษานิสัยรักการอ่านของนักเรียน หลังการเข้าร่วมโครงการ ส่งเสริมรักการอ่านของนักเรียน ผู้ประเมินได้เสนอผลการประเมินโครงการ สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างในการประเมินได้แก่ ผู้บริหาร ครู และนักเรียนโรงเรียน เทศบาลบ้านสุขสำราญ  อำเภอวารินชำราบ  จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 563 คน  เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ดำเนินการเก็บรวบรวม ข้อมูลทั้งก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ ค่าสถิติการทดสอบค่าที ( t – test Dependent Samples)

ผลการศึกษาพบว่า

1. ผลการประเมินระดับคุณค่าของโครงการส่งเสริมรักการอ่านของนักเรียนด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต พบว่า

ด้านสภาวะแวดล้อม ผลการประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่าน ในด้านสภาวะแวดล้อม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า ข้อที่มี ค่าเฉลี่ยมากกว่าข้ออื่น ๆ คือ การศึกษาพฤติกรรมรักการอ่านของนักเรียนในครั้งนี้ จะเป็นแนวทาง ส่งเสริมพฤติกรรมรักการอ่านให้กับนักเรียนทั้งโรงเรียน รองลงมาเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะในการอ่าน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าทุกข้อคือ เพื่อปลูกฝังและส่งเสริมพฤติกรรมรักการอ่านของนักเรียน และ เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนให้นักเรียนสนใจการอ่านอยู่เสมอ

ด้านปัจจัย ผลการประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่านด้านปัจจัย (Input) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่า ข้ออื่นๆคือ ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบเข้าใจวัตถุประสงค์และการจัดกิจกรรมโครงการส่งเสริม รักการอ่านเป็นอย่างดี วัสดุอุปกรณ์ สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมรักการอ่านมีความ เหมาะสมและเพียงพอ งบประมาณในการดำเนินโครงการส่งเสริมรักการอ่านเหมาะสมและเพียงพอ สื่อต่าง ๆ เช่น หนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมและเพียงพอ และ ระยะเวลาในการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมรักการอ่านเหมาะสมและเพียงพอ รองลงมาคือ โครงการส่งเสริมรักการอ่าน มีการวางแผนนโยบายการดำเนินการไว้ชัดเจนส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำ  กว่าทุกข้อคือ สถานที่ จัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมรักการอ่านมีความเหมาะสมเพียงพอ

ด้านกระบวนการ ผลการประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่านด้านกระบวนการ ปฏิบัติงานของผู้บริหารและครู (Process) ของผู้บริหารและครู โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ถือว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า ข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ โรงเรียน มีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของโครงการ รองลงมาคือ โรงเรียนมีการสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับโครงการให้บุคลากรครูทุกคน และผู้รับผิดชอบโครงการมีการนิเทศติดตาม ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือและประเมินผลการดำเนินโครงการรักการอ่านอย่างสม่ำเสมอ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า ทุกข้อ คือ โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่โครงการส่งเสริมรักการอ่านอย่างสม่ำเสมอ

ด้านผลผลิต ผลการประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่านด้านผลผลิต (Product) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากถึงมากที่สุด  ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่าข้ออื่นๆ คือ  โครงการส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน ทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ นักเรียนรักการอ่านเพิ่มขึ้นและผู้ปกครองร่วมมือ สนับสนุน และส่งเสริมการอ่านของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ มีสถิติการใช้ห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้ ของนักเรียนเพิ่มขึ้น ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าทุกข้อคือ ครูใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ เพิ่มขึ้น

2. ผลการศึกษานิสัยรักการอ่านของนักเรียน หลังการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมรักการอ่าน ของนักเรียน พบว่า ผลการประเมินคุณค่ากิจกรรมในโครงการทั้ง 9 กิจกรรม พบว่า ทุกกิจกรรม นักเรียนมีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมในกิจกรรมโดยมีระดับการเกิดพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก ถึงระดับมากที่สุด ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.51 - 4.65 เมื่อพิจารณาแต่ละ กิจกรรมแสดงให้เห็นถึงผลสำเร็จของโครงการ ซึ่งมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจกรรม โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 8 กิจกรรม  กล่าวคือ กิจกรรมแนะนำหนังสือใหม่ นักเรียนมีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมในกิจกรรมนี้  นักเรียนเข้าใช้และยืมหนังสือจากห้องสมุด เพิ่มมากขึ้น นักเรียนได้รับการกระตุ้นให้มีพฤติกรรมรักการอ่าน กิจกรรมกิจกรรมอ่านหนังสือ ให้ฟัง นักเรียนมีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมในกิจกรรมนี้ นักเรียนได้รับการกระตุ้น ให้มีพฤติกรรมรักการอ่าน นักเรียนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้น กิจกรรมเล่านิทาน นักเรียน มีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมในกิจกรรมนี้นักเรียนได้รับการกระตุ้นให้มีพฤติกรรม รักการอ่าน กิจกรรมมอบเกียรติบัตรยอดนักอ่านประจำเดือน นักเรียนรู้สึกภูมิใจ ชื่นชมยินดี ที่ได้เกียรติบัตรหรือกับ ผู้ที่ได้รับเกียรติบัตร นักเรียนได้รับการกระตุ้นให้มีพฤติกรรมรักการอ่าน นักเรียนมีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมในกิจกรรมนี้ กิจกรรมเกร็ดความรู้หน้าเสาธง นักเรียน ได้รับการกระตุ้นให้มีพฤติกรรมรักการอ่าน นักเรียนมีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมในกิจกรรมนี้ นักเรียนค้นคว้าเกร็ดความรู้จากหนังสือเพิ่มมากขึ้น กิจกรรมพ่อแม่ลูกปลูกฝังพฤติกรรมรักการอ่าน ผู้ปกครองและนักเรียนมีส่วนร่วมในการอ่านมากขึ้น ผู้ปกครองและนักเรียนเห็นความสำคัญ และ ร่วมกิจกรรม นักเรียนได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นจากกิจกรรมนี้ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน นักเรียนมีความ สนใจและเข้าร่วมกิจกรรมในกิจกรรมนี้ นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้น กิจกรรมเรียนรู้ สู่สารานุกรมไทย นักเรียนมีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมในกิจกรรมนี้ นักเรียนเกิดทักษะ ด้านภาษาไทย กิจกรรมตะกร้าความรู้ นักเรียนมีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมในกิจกรรมนี้ นักเรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้เร็วมาก