การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องการชั่ง การตวง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดย นางสาวเสาวรี เพชรจำรัส

ชื่อรายงาน       การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

เรื่องการชั่ง การตวง  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3

ผู้วิจัย             นางสาวเสาวรี  เพชรจำรัส       

ตำแหน่ง          ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

สถานศึกษา      โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน)  สำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่

ปีการศึกษา       2559

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์(1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องการชั่ง การตวง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์   80/80  (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องการชั่ง การตวง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  (3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนคณิตศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องการชั่ง การตวง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประชากรในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559  โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน)  สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่  ซึ่งมีการจัดนักเรียนเข้าชั้นเรียนโดยคละตามความสามารถ  จำนวน 4 ห้องเรียน  รวมจำนวนนักเรียน  125 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้หาประสิทธิภาพของชุดการเรียนคณิตศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องการชั่ง การตวง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่จำนวน 32 คนใช้การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ดำเนินการทดลองโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ one group pretest- posttest design   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  (1) ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องการชั่ง การตวง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องการชั่ง การตวง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  และ(3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการชั่ง การตวง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559  รวมระยะเวลาที่ใช้ 24 ชั่วโมง   วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองค่าจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว  (t–test for Paired Samples)

ผลการศึกษาพบว่า

          1. ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องการชั่ง การตวง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.25/81.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องการชั่ง การตวง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          3. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนคณิตศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องการชั่ง การตวง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  มีค่าเท่ากับ 0.6865 หรือคิดเป็นร้อยละ 68.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ที่ตั้งไว้